วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการสอนภาษาไทย

เทคนิคการสอนภาษาไทย

เทคนิคการสอนการผันวรรณยุกต์ให้แก่นักเรียนระดับ ม.ต้น

แหล่งเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ.
ห้องเรียนครูภาทิพ
       ความสามารถในการผันวรรณยุกต์ของนักเรียนนอกเหนือจากมีผลต่อทักษะการสื่อสารด้านการอ่านการเขียนแล้ว  ความสามารถในการผันวรรณยุกต์ยังมีผลต่อการเรียนรู้เรื่องการแต่งกลอนและโคลงของนักเรียนอีกด้วย
       จากประสบการณ์ในการสอนวิชาภาษาไทยระดับ ม.๑ และ ม.๒ พบว่านักเรียนมีทักษะในการผันวรรณยุกต์หรือจำแนกเสียงวรรณยุกต์ค่อนข้างน้อย   มีนักเรียนเพียง ๑- ๕ %ในแต่ละปี  ที่สามารถบอกเสียงวรรณยุกต์ได้ทันที่ครูบอกคำออกไป  อีก ๕๐ %ใช้นิ้ว ๕ นิ้วผันไล่เสียงจึงผันได้   และอีก ๒๕-๓๐  %  ไม่สามารถผัน หรือจำแนกเสียงวรรณยุกต์ของคำที่เป็นคำตายได้   ส่วนจำนวนที่เหลือนักเรียนกลุ่มนี้จะผันได้บ้างผิดบ้างแบบไม่แน่นอน  แสดงว่าไม่ใช่ความรู้แท้  เมื่อตรวจสมุดบันทึกและผลงานการเขียนพบว่ามีนักเรียน  ๒๐ % .ใช้วรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง  นักเรียนหลงเสียงตามรูปวรรณยุกต์  คำบางคำไม่จำเป็นต้องใส่วรรณยุกต์  นักเรียนก็ใส่  เช่นคำว่า  นะคะ  นักเรียนเขียนเป็นน๊ะค๊ะ   หรือ  สนใจ  นักเรียนกลับเขียนเป็น ส๋นใจ  เป็นต้น
      ผู้สอนจึงเริ่มให้ความรู้เรื่องอักษรไทยและการผันวรรณยุกต์  โดยใช้สื่อ เว็บไซต์  http://www.st.ac.th/bhatips/gramma3.htm
ประกอบการอธิบาย เรื่อง อักษรไทย  อักษรสามหมู่  สระเสียงสั้น  สระเสียงยาว  คำเป็นและคำตาย  พร้อมยกตัวอย่างประกอบ และลอง ตรวจสอบความรู้เรื่องการผันวรรณยุกต์เป็นรายบุคคล โดยให้นักเรียนบอกเสียงวรรณยุกต์ของข้อความที่กำหนดให้ โดยให้เขียน ส บนคำที่เป็นคำสามัญ  เขียน อ บนคำเอก  เขียน ต บนคำที่มีเสียงตรี  และเขียน จ  บนคำที่มีจัตวา   
   
ข้อความที่กำหนดให้     ๑. จอดเรือให้ดูฝั่ง     ๒. ตะเกียงกับตะวัน     ๓. ใจเธอมีฉันอยู่     ๔. ครั้งแรกที่เคยเจอ     ๕. คิดถึงและเป็นห่วง
 จากการตรวจผลการผันวรรณยุกต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ /๑๑  - ๑/๑๒  จำนวน ๑๐๐ คน   พบว่า
คำ
เสียงวรรณยุกต์ตอบถูกหมายเหตุ
เรือ  ดู  วัน  ใจ เธอ มี  เคย เจอ  เป็นสามัญนักเรียน ตอบถูกทั้ง๑๐๐ คน 
จอด  ฝั่ง  ตะ กับ  อยู่     ห่วงเอกนักเรียนตอบคำว่า จอด  ตะ และกับ ผิด  ๓๓ คนนักเรียนกลุ่มนั้นบอกว่าเป็นเสียงสามัญหลงผิดกับคำตาย
ให้  ที่  แรกโทนักเรียน ตอบ คำว่าแรก ผิด ๒๑  คนนักเรียนกลุ่มที่ผิดบอกเป็นเสียงสามัญบ้าง เสียงเอกบ้าง และเสียงตรีบ้าง
ครั้ง  คิด   และตรีนักเรียนตอบคำว่า คิด  และ ผิด  จำนวน ๒๗  คนนักเรียนกลุ่มนี้บอกว่าเป็นเสียงสามัญบ้าง  เสียงเอก บ้าง และเสียงโท บ้าง
ฉัน  ถึงจัตวานักเรียนตอบผิด  ๘  คนนักเรียนกลุ่มนี้บอกว่าเป็นเสียงสามัญ

     จากผลดังกล่าวแสดงว่านักเรียนส่วนหนึ่ง ยังไม่เข้าใจเรื่องเสียงของวรรณยุกต์ ผู้สอนได้พยายามพัฒนาเทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อมาแก้ไขจุดนี้   โดยชี้แนะให้นักเรียนสังเกตความแตกต่างของเสียงพร้อมกับการเล่นเกมการแข่งขัน
ขั้นให้ความรู้ใหม่ขั้นที่ ๑ ด้วยการจำแนกเสียงวรรณยุกต์โดยการสังเกตระดับเสียง จากกลุ่มคำระดับเสียงเดียวกัน
เสียง จัตวา             สวย    แข็ง      ผัน     หอม    สิว       ขาว      หมา    แขน   
เสียงสามัญ           ซวย     แคง     พัน    ฮอม      ซิว       คาว       มา      แคน
เสียงเอกคำเป็น    ส่วย     แข่ง     ผั่น   ห่อม     สิ่ว        ข่าว     หม่า      แผ่น
เสียงเอกคำตาย    สวก    แขก     ผัก      หอบ     สิบ       ขาด    หมก      แผด
เสียงโทตามรูป  ด้วย     เป้ง          ก้น      ต้อม     ติ้ว         ข้าว     หญ้า    แกล้ง
รูปเอกเสียงโท   ช่วย      เร่ง        ร่น       ค่อม      ลิ่ว        เช่า      น่า       แล่ง
เสียงตรีตามรูป  ป๊า         แก๊งค์    บ๊อง     กิ๊ว       ก๊าว       แอ๊ว     ต๊อด    เจี๊ยบ
รูปโทเสียงตรี   ฟ้า        ร้อง        คั้น      นิ้ว       พันช์     เพ้อ      วุ้น      ล้าง
อักษรต่ำคำตายเสียงสั้นพื้นเสียงเป็นเสียงตรี คะ   เรอะ    แนะ    รัก   นก   วัด    ลึก    ชิด    คุ    ริก     ลด
อักษรต่ำคำตายเสียงยาวพื้นเสียงเป็นเสียงโทฤกษ์    เลิศ    วาด    ภาพ   รูป   เรียก     พืช    ฟอด    แฟบ 
อักษรต่ำคำตายสระเสียงยาวใส่ วรรณยุกต์โทเป็น เสียงตรี เช่นแฟ้บ (ผงซักฟอกชนิดหนึ่ง)
อักษรต่ำคำตายสระเสียงสั้น ใส่เอกเป็นโท  ค่ะ (คำขานรับ) เช่น สวัสดีค่ะ  มาค่ะ   ตกลงค่ะ  ไม่เอาค่ะ  
ขั้นให้ความรู้ใหม่ขั้นที่ ๒ ทบทวนความรู้เรื่องการใช้นิ้ว ๕ ติดตัวแต่เดิม  คำเป็นใช้ ๕ นิ้ว  นิ้วโป้งคือ สามัญ 
คำตาย  พับนิ้วโป้ง  เพราะคำตายไม่มีเสียงสามัญ  เริ่มเสียงเอกจากนิ้วชี้
ขั้นให้ความรู้ใหม่ขั้นที่ ๓ ทบทวนคำเป็นคำตายอีกครั้ง
 คำเป็นเป็นเช่นอย่างนี้                          สระยาว อา อี
อู เอ อือ แอ อัว เออ ฯลฯ   
แม่กง กน กม นะเธอ                             สะกดอย่าเผลอ
สระยาวสั้นย่อมได้   
อำ ใอ ไอ เอา ก็ใช่                               จดจำใส่ใจ
คือคำเป็นแท้แน่นอน   
คำตายจำไว้เนื้ออ่อน                            เสียงสั้นสังวร
อะ อิ อุ เอะ เอาะ แอะ   
แม่กก กด กบ นั่นแหละ                         ครูขอชี้แนะ
คำตายหมายจดหมายจำ   
   
                                      กาพย์ฉบัง ๑๖ อ.ภาทิพ ศรีสุทธิ์
ประเมินผลด้วยเกมการแข่งขัน
     นักเรียนจับคู่บอกเสียงวรรณยุกต์จากแบบประเมินที่แจกให้  ครั้งละ ๒๐ คำ จำนวน ๑๐ ชุด  ทำชุดละ ๓ นาที ใครทำเสร็จก่อน ยกมือจัดลำดับ หากคะแนนสูดสุดเท่ากันในแต่ละรอบ คนที่เสร็จก่อนจะได้ดาว ๑ดวง
รูปแบบแบบประเมิน
แบบสำรวจความสามารถในการผันวรรณยุกต์คำชี้แจง  ให้นักเรียนบอกเสียงวรรณยุกต์ของคำต่อไปนี้ โดยการเขียน เสียงวรรณยุกต์  ส  แทน สามัญ อ.แทนเอก  ท แทน โท ต แทน ตรี และ จ แทนจัตวา  ลงในช่องของคำนั้น
ชุด๑
เคลิบเคลิ้มในโคลงกลอนได้พักผ่อนเคล้าครึกคะแนน
พวกลูกหลานอย่าโลเลหลังจะลายนะ
ชุด ๒เร่งเร้าให้เรียนรู้รักที่ร้อนแรงรส 
คนหลายเหลี่ยมลาแล้วจากโลกเพราะหลักแหลม
ชุด ๓คุณครูครับคราวนี้กระผมตอบไม่พลาด 
ฉันตรึกตรองเพื่อตรวจตราว่าข้าวของครบ
ฯลฯ
   เกณฑ์ประเมิน    ถูกต้อง ๙๐- ๑๐๐  คำ  ระดับดีเยี่ยม    ๘๐-๘๙ คำ    ดีมาก   
                                        ๖๕-๗๙   คำ   ดี                         ๕๕-๖๔  คำ  พอใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น