วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

เพลงอาเซียน คลิกที่นี้

บัณฑิตน้อย 56

ภาพประทับใจ






อยากฟัง เพลง ก.ไก่  คลิกที่นี้

เทคนิคการสอนภาษาไทย

เทคนิคการสอนภาษาไทย

เทคนิคการสอนการผันวรรณยุกต์ให้แก่นักเรียนระดับ ม.ต้น

แหล่งเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ.
ห้องเรียนครูภาทิพ
       ความสามารถในการผันวรรณยุกต์ของนักเรียนนอกเหนือจากมีผลต่อทักษะการสื่อสารด้านการอ่านการเขียนแล้ว  ความสามารถในการผันวรรณยุกต์ยังมีผลต่อการเรียนรู้เรื่องการแต่งกลอนและโคลงของนักเรียนอีกด้วย
       จากประสบการณ์ในการสอนวิชาภาษาไทยระดับ ม.๑ และ ม.๒ พบว่านักเรียนมีทักษะในการผันวรรณยุกต์หรือจำแนกเสียงวรรณยุกต์ค่อนข้างน้อย   มีนักเรียนเพียง ๑- ๕ %ในแต่ละปี  ที่สามารถบอกเสียงวรรณยุกต์ได้ทันที่ครูบอกคำออกไป  อีก ๕๐ %ใช้นิ้ว ๕ นิ้วผันไล่เสียงจึงผันได้   และอีก ๒๕-๓๐  %  ไม่สามารถผัน หรือจำแนกเสียงวรรณยุกต์ของคำที่เป็นคำตายได้   ส่วนจำนวนที่เหลือนักเรียนกลุ่มนี้จะผันได้บ้างผิดบ้างแบบไม่แน่นอน  แสดงว่าไม่ใช่ความรู้แท้  เมื่อตรวจสมุดบันทึกและผลงานการเขียนพบว่ามีนักเรียน  ๒๐ % .ใช้วรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง  นักเรียนหลงเสียงตามรูปวรรณยุกต์  คำบางคำไม่จำเป็นต้องใส่วรรณยุกต์  นักเรียนก็ใส่  เช่นคำว่า  นะคะ  นักเรียนเขียนเป็นน๊ะค๊ะ   หรือ  สนใจ  นักเรียนกลับเขียนเป็น ส๋นใจ  เป็นต้น
      ผู้สอนจึงเริ่มให้ความรู้เรื่องอักษรไทยและการผันวรรณยุกต์  โดยใช้สื่อ เว็บไซต์  http://www.st.ac.th/bhatips/gramma3.htm
ประกอบการอธิบาย เรื่อง อักษรไทย  อักษรสามหมู่  สระเสียงสั้น  สระเสียงยาว  คำเป็นและคำตาย  พร้อมยกตัวอย่างประกอบ และลอง ตรวจสอบความรู้เรื่องการผันวรรณยุกต์เป็นรายบุคคล โดยให้นักเรียนบอกเสียงวรรณยุกต์ของข้อความที่กำหนดให้ โดยให้เขียน ส บนคำที่เป็นคำสามัญ  เขียน อ บนคำเอก  เขียน ต บนคำที่มีเสียงตรี  และเขียน จ  บนคำที่มีจัตวา   
   
ข้อความที่กำหนดให้     ๑. จอดเรือให้ดูฝั่ง     ๒. ตะเกียงกับตะวัน     ๓. ใจเธอมีฉันอยู่     ๔. ครั้งแรกที่เคยเจอ     ๕. คิดถึงและเป็นห่วง
 จากการตรวจผลการผันวรรณยุกต์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ /๑๑  - ๑/๑๒  จำนวน ๑๐๐ คน   พบว่า
คำ
เสียงวรรณยุกต์ตอบถูกหมายเหตุ
เรือ  ดู  วัน  ใจ เธอ มี  เคย เจอ  เป็นสามัญนักเรียน ตอบถูกทั้ง๑๐๐ คน 
จอด  ฝั่ง  ตะ กับ  อยู่     ห่วงเอกนักเรียนตอบคำว่า จอด  ตะ และกับ ผิด  ๓๓ คนนักเรียนกลุ่มนั้นบอกว่าเป็นเสียงสามัญหลงผิดกับคำตาย
ให้  ที่  แรกโทนักเรียน ตอบ คำว่าแรก ผิด ๒๑  คนนักเรียนกลุ่มที่ผิดบอกเป็นเสียงสามัญบ้าง เสียงเอกบ้าง และเสียงตรีบ้าง
ครั้ง  คิด   และตรีนักเรียนตอบคำว่า คิด  และ ผิด  จำนวน ๒๗  คนนักเรียนกลุ่มนี้บอกว่าเป็นเสียงสามัญบ้าง  เสียงเอก บ้าง และเสียงโท บ้าง
ฉัน  ถึงจัตวานักเรียนตอบผิด  ๘  คนนักเรียนกลุ่มนี้บอกว่าเป็นเสียงสามัญ

     จากผลดังกล่าวแสดงว่านักเรียนส่วนหนึ่ง ยังไม่เข้าใจเรื่องเสียงของวรรณยุกต์ ผู้สอนได้พยายามพัฒนาเทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อมาแก้ไขจุดนี้   โดยชี้แนะให้นักเรียนสังเกตความแตกต่างของเสียงพร้อมกับการเล่นเกมการแข่งขัน
ขั้นให้ความรู้ใหม่ขั้นที่ ๑ ด้วยการจำแนกเสียงวรรณยุกต์โดยการสังเกตระดับเสียง จากกลุ่มคำระดับเสียงเดียวกัน
เสียง จัตวา             สวย    แข็ง      ผัน     หอม    สิว       ขาว      หมา    แขน   
เสียงสามัญ           ซวย     แคง     พัน    ฮอม      ซิว       คาว       มา      แคน
เสียงเอกคำเป็น    ส่วย     แข่ง     ผั่น   ห่อม     สิ่ว        ข่าว     หม่า      แผ่น
เสียงเอกคำตาย    สวก    แขก     ผัก      หอบ     สิบ       ขาด    หมก      แผด
เสียงโทตามรูป  ด้วย     เป้ง          ก้น      ต้อม     ติ้ว         ข้าว     หญ้า    แกล้ง
รูปเอกเสียงโท   ช่วย      เร่ง        ร่น       ค่อม      ลิ่ว        เช่า      น่า       แล่ง
เสียงตรีตามรูป  ป๊า         แก๊งค์    บ๊อง     กิ๊ว       ก๊าว       แอ๊ว     ต๊อด    เจี๊ยบ
รูปโทเสียงตรี   ฟ้า        ร้อง        คั้น      นิ้ว       พันช์     เพ้อ      วุ้น      ล้าง
อักษรต่ำคำตายเสียงสั้นพื้นเสียงเป็นเสียงตรี คะ   เรอะ    แนะ    รัก   นก   วัด    ลึก    ชิด    คุ    ริก     ลด
อักษรต่ำคำตายเสียงยาวพื้นเสียงเป็นเสียงโทฤกษ์    เลิศ    วาด    ภาพ   รูป   เรียก     พืช    ฟอด    แฟบ 
อักษรต่ำคำตายสระเสียงยาวใส่ วรรณยุกต์โทเป็น เสียงตรี เช่นแฟ้บ (ผงซักฟอกชนิดหนึ่ง)
อักษรต่ำคำตายสระเสียงสั้น ใส่เอกเป็นโท  ค่ะ (คำขานรับ) เช่น สวัสดีค่ะ  มาค่ะ   ตกลงค่ะ  ไม่เอาค่ะ  
ขั้นให้ความรู้ใหม่ขั้นที่ ๒ ทบทวนความรู้เรื่องการใช้นิ้ว ๕ ติดตัวแต่เดิม  คำเป็นใช้ ๕ นิ้ว  นิ้วโป้งคือ สามัญ 
คำตาย  พับนิ้วโป้ง  เพราะคำตายไม่มีเสียงสามัญ  เริ่มเสียงเอกจากนิ้วชี้
ขั้นให้ความรู้ใหม่ขั้นที่ ๓ ทบทวนคำเป็นคำตายอีกครั้ง
 คำเป็นเป็นเช่นอย่างนี้                          สระยาว อา อี
อู เอ อือ แอ อัว เออ ฯลฯ   
แม่กง กน กม นะเธอ                             สะกดอย่าเผลอ
สระยาวสั้นย่อมได้   
อำ ใอ ไอ เอา ก็ใช่                               จดจำใส่ใจ
คือคำเป็นแท้แน่นอน   
คำตายจำไว้เนื้ออ่อน                            เสียงสั้นสังวร
อะ อิ อุ เอะ เอาะ แอะ   
แม่กก กด กบ นั่นแหละ                         ครูขอชี้แนะ
คำตายหมายจดหมายจำ   
   
                                      กาพย์ฉบัง ๑๖ อ.ภาทิพ ศรีสุทธิ์
ประเมินผลด้วยเกมการแข่งขัน
     นักเรียนจับคู่บอกเสียงวรรณยุกต์จากแบบประเมินที่แจกให้  ครั้งละ ๒๐ คำ จำนวน ๑๐ ชุด  ทำชุดละ ๓ นาที ใครทำเสร็จก่อน ยกมือจัดลำดับ หากคะแนนสูดสุดเท่ากันในแต่ละรอบ คนที่เสร็จก่อนจะได้ดาว ๑ดวง
รูปแบบแบบประเมิน
แบบสำรวจความสามารถในการผันวรรณยุกต์คำชี้แจง  ให้นักเรียนบอกเสียงวรรณยุกต์ของคำต่อไปนี้ โดยการเขียน เสียงวรรณยุกต์  ส  แทน สามัญ อ.แทนเอก  ท แทน โท ต แทน ตรี และ จ แทนจัตวา  ลงในช่องของคำนั้น
ชุด๑
เคลิบเคลิ้มในโคลงกลอนได้พักผ่อนเคล้าครึกคะแนน
พวกลูกหลานอย่าโลเลหลังจะลายนะ
ชุด ๒เร่งเร้าให้เรียนรู้รักที่ร้อนแรงรส 
คนหลายเหลี่ยมลาแล้วจากโลกเพราะหลักแหลม
ชุด ๓คุณครูครับคราวนี้กระผมตอบไม่พลาด 
ฉันตรึกตรองเพื่อตรวจตราว่าข้าวของครบ
ฯลฯ
   เกณฑ์ประเมิน    ถูกต้อง ๙๐- ๑๐๐  คำ  ระดับดีเยี่ยม    ๘๐-๘๙ คำ    ดีมาก   
                                        ๖๕-๗๙   คำ   ดี                         ๕๕-๖๔  คำ  พอใช้

ก.ไก่ล้อเลียน


อาเซี่ยน


รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน ประวัติอาเซียน10ประเทศ


ประเทศอาเซียน

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก flagspot.net , สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 

          ในสภาวะแห่งยุคทุนนิยม ที่เศรษฐกิจเป็นตัวขับเคลื่อนและผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ก้าวรุดไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศต่าง ๆ นั้นอยู่รวมกันเป็นสังคมโลก ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายได้ จึงต้องมีการรวมตัวกันของประเทศในแต่ละภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ร่วมและพัฒนาประเทศในภูมิภาคไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุนี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน จึงได้มีข้อตกลงให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

          แต่ก่อนที่เราจะมาดูเนื้อหาสาระของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนนี้ เราจะมาย้อนดูกันรวมตัวกันของประเทศในอาเซียนว่ามีการรวมตัวกันได้อย่างไร จนมาเป็นอาเซียนในปัจจุบัน

          โดยอาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารุสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538  ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542  ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ

 รู้จัก 10 ประเทศอาเซียน 


บรูไน


1.บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) 

          ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน" เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลของประเทศบรูไนได้ที่นี่ 


กัมพูชา

2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia)

          เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้

           อ่านข้อมูลประเทศกัมพูชา ได้ที่นี่


อินโดนีเซีย


3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia)

          เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลประเทศอินโดนีเซีย ได้ที่นี่


ลาว

4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)

          เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

           อ่านข้อมูลประเทศลาว ได้ที่นี่


มาเลเซีย


5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia)

          เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกบคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลประเทศมาเลเซีย ได้ที่นี่

ฟิลิปปินส์


6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)

          เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลประเทศฟิลิปปินส์ ได้ที่นี่


สิงคโปร์


7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of Singapore)

          เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตำแหน่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจำชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)

           อ่านข้อมูลประเทศสิงคโปร์ ได้ที่นี่


ประเทศไทย


8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

          เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ

           อ่านข้อมูลประเทศไทย ได้ที่นี่ 


เวียดนาม

9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam)

          เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์

           อ่านข้อมูลประเทศเวียดนาม ได้ที่นี่ 


ประเทศพม่า


10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar)

          มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ

           อ่านข้อมูลประเทศพม่า ได้ที่นี่



ประเทศอาเซียน

          ตลอดระยะเวลา 44 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งมีการวางกรอบความร่วมมือ เพื่อสร้างความเข็มแข็ง รวมถึงความมั่นคงของประเทศสมาชิกทั้งด้านความมั่นคงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และในปี พ.ศ. 2558 อาเซียนได้วางแนวทางก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ ภายใต้คำขวัญคือ  "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม" (One Vision, One Identity, One Community) โดยมุ่งเน้นไปที่ 3 ประชาคม คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน(ASEAN Political Security Community : APSC)  ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)

          โดยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา ดังต่อไปนี้

           1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

           2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย

                มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020

                ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)

                 ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน

                ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
   
          กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม สำหรับประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)


ความร่วมมือ


           3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

          สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนนั้น ประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประชาอาเซียน โดยจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะมีบทบาทสำคัญที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่น ๆ ให้มีความเข้มแข็ง เนื่องจากการศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน และจะมีการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านอาเซียนศึกษา เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนด้วยการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียน ความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ หลักสิทธิมนุษยชน ตลอดจนการส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเพื่อพัฒนาการติดต่อสื่อสารระหว่างกันในประชาคมอาเซียน


แรงเงา


http://www.youtube.com/watch?v=tGywn3i5w8o

การศึกษา

แหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษา จังหวัดชลบุรี

คอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์



ความหมายและความเป็นมา

เมื่อพิจารณาศัพท์คำว่า คอมพิวเตอร์ ถ้าแปลกันตรงตัวตามคำภาษาอังกฤษ จะหมายถึงเครื่องคำนวณ ดังนั้นถ้ากล่าวอย่างกว้าง ๆ เครื่องคำนวณที่มีส่วนประกอบเป็นเครื่องกลไกหรือเครื่องไฟฟ้า ต่างก็จัดเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งสิ้น ลูกคิดที่เคยใช้กันในร้านค้า ไม้บรรทัด คำนวณ (slide rule) ซึ่งถือเป็นเครื่องมือประจำตัววิศวกรในยุคยี่สิบปีก่อน หรือเครื่องคิดเลข ล้วนเป็นคอมพิวเตอร์ได้ทั้งหมด
ในปัจจุบันความหมายของคอมพิวเตอร์จะระบุเฉพาะเจาะจง หมายถึงเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำงานคำนวณผลและเปรียบเทียบค่าตามชุดคำสั่งด้วยความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องและอัตโนมัติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำจำกัดความของคอมพิวเตอร์ไว้ค่อนข้างกะทัดรัดว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เสมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์
การจำแนกคอมพิวเตอร์ตามลักษณะวิธีการทำงานภายในเครื่องคอมพิวเตอร์อาจแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ



แอนะล็อกคอมพิวเตอร์ (analog computer) เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขเป็นหลักของการคำนวณ แต่จะใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าแทน ไม้บรรทัดคำนวณ อาจถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ค่าตัวเลขตามแนวความยาวไม้บรรทัดเป็นหลักของการคำนวณ โดยไม้บรรทัดคำนวณจะมีขีดตัวเลขกำกับอยู่ เมื่อไม้บรรทัดหลายอันมรประกบรวมกัน การคำนวณผล เช่น การคูณ จะเป็นการเลื่อนไม้บรรทัดหนึ่งไปตรงตามตัวเลขของตัวตั้งและตัวคูณของขีดตัวเลขชุดหนึ่ง แล้วไปอ่านผลคูณของขีดตัวเลขอีกชุดหนึ่งแอนะล็อกคอมพิวเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์จะใช้หลักการทำนองเดียวกัน โดยแรงดันไฟฟ้าจะแทนขีดตัวเลขตามแนวยาวของไม้บรรทัด
แอนะล็อกคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและเป็นฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ จึงเหมาะสำหรับงานคำนวณทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมที่อยู่ในรูปของสมการคณิตศาสตร์ เช่น การจำลองการบิน การศึกษาการสั่งสะเทือนของตึกเนื่องจากแผ่นดินไหว ข้อมูลตัวแปรนำเข้าอาจเป็นอุณหภูมิความเร็วหรือความดันอากาศ ซึ่งจะต้องแปลงให้เป็นค่าแรงดันไฟฟ้า เพื่อนำเข้าแอนะล็อกคอมพิวเตอร์ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นแรงดันไฟฟ้าแปรกับเวลาซึ่งต้องแปลงกลับไปเป็นค่าของตัวแปรที่กำลังศึกษา
ในปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็นแอนะล็อกคอมพิวเตอร์เท่าไรนักเพราะผลการคำนวณมีความละเอียดน้อย ทำให้มีขีดจำกัดใช้ได้กับงานเฉพาะบางอย่างเท่านั้น


ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (digital computer) คอมพิวเตอร์ที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบัน จัดเป็นดิจิทัลคอมพิวเตอร์แทบทั้งหมด ดิจิทัลคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานเกี่ยวกับตัวเลข มีหลักการคำนวณที่ไม่ใช่แบบไม้บรรทัดคำนวณ แต่เป็นแบบลูกคิด โดยแต่และหลักของลูกคิดคือ หลักหน่วย หลักร้อย และสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นระบบเลขฐานสินที่แทนตัวเลขจากศูนย์ถ้าเก้าไปสิบตัวตามระบบตัวเลขที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ค่าตัวเลขของการคำนวณในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะแสดงเป็นหลักเช่นเดียวกัน แต่จะเป็นระบบเลขฐานสองที่มีสัญลักษณ์ตัวเลขเพียงสองตัว คือเลขศูนย์กับเลขหนึ่งเท่านั้น โดยสัญลักษณ์ตัวเลขทั้งสองตัวนี้ จะแทนลักษณะการทำงานภายในซึ่งเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ต่างกัน การคำนวณภายในดิจิทัลคอมพิวเตอร์จะเป็นการประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสองทั้งหมด ดังนั้นเลขฐานสิบที่เราใช้และคุ้นเคยจะถูกแปลงไปเป็นระบบเลขฐานสองเพื่อการคำนวณภายในคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ก็ยังเป็นเลขฐานสองอยู่ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงผลให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่าย